คู่มือการตั้งค่า WISP Repeater Mode ( Extender )


Tenda Router Wireless Series

W309R+/ FH303+/FH303 / F3 / FH305 / N301 / N150




     1-  เริ่มต้นและการประยุกต์ใช้


     โดยมากแล้วผู้ใช้ที่ต้องการทวน หรือ ขยายสัญญาณ Wireless จาก AP ตัวหลัก ไปยังจุดที่สัญญาณ Wireless อ่อน หรือไม่มีสัญญาณ หรือแม้แต่การแปลง Wireless มาเป็นสาย LAN เพื่อใช้กับอุปกรณ์ Dreambox หรือ DVR มักจะมองหา Access Point ที่สามารถทำเป็น Client Bridge หรือ Universal Repeater ได้ เพื่อรับสัญญาณ Internet จาก AP ตัวหลัก ผ่าน Wireless ไปยังอุปกรณ์ปลายทาง เช่น Computer PC, Notebook, Dreambox หรือ DVR เป็นต้น ให้สามารถเชื่อมต่อ Internet ได้ แต่โหมดนี้จะตั้งค่ายุ่งยากครับ



     สำหรับ FH303, FH305, N301, N150 จะรองรับโหมด Client Bridge ในตัวอยู่แล้ว แต่จะทำงานเป็น Access Point + Router ไปด้วย ซึ่งมีความสามารถมากกว่า Client Bridge โดยจะเรียกรวมว่าโหมด Client + AP + Router หรือ WISP นั่นเอง สำหรับ WISP โหมดนั้น จะทำงานคล้ายกับ Repeater โหมด แต่จะมีการเพิ่มความสามารถของ Router เข้ามาด้วย สามารถทำหน้าที่เป็นตัวแจก DHCP, แชร์ Internet, Forward Port, Block การใช้งาน Internet และจำกัด Bandwidth ได้ในการทำงานโหมดเดียว เซตตั้งค่าง่ายกว่า แล้วก็สามารถทวนสัญญาณ Wireless จาก Access Point ตัวหลักได้เหมือน Client Bridge, Client + AP หรือ Universal Repeater ที่คุ้นเคยกัน ดังรูป
IP Address


IP Address ของ AP ตัวหลัก หรือ Gateway ควรเป็นคนละวง กับ FH303, FH305, N301, N150 เช่น AP ตัวหลัก หรือ Gateway เป็น 192.168.1.1 ส่วน IP ของ FH303, FH305, N301, N150 เป็น 192.168.0.1 ( ถ้า IP ชนกัน ให้ดูวิธีเปลี่ยน IP ในหัวข้อสุดท้ายครับ )


     2-  เตรียมตัวก่อนตั้งค่า WISP Mode


 2.1 เตรียมรหัสผานของ ่ Wireless ตัวหลัก และควรทราบประเภทของ Security วาเป็ น ่ WEP64/128bits, WPA, WPA2, TKIP หรือ AES โดยใน 2 ตัวอยางด้านล่างคือการแนะนําวิธีการตรวจสอบจาก Wireless ตัวหลักครับ


ตัวอยางที่ ่ 1  : การตรวจสอบ Wireless Security ใน D-Link ครับ


ตัวอยางที่ ่ 2 : การตรวจสอบ Wireless Security ใน TP-Link ครับ


     3-  เริ่มต้นการตั้งค่า WISP Mode


          3.1 การเสียบสาย ระหว่าง FH303, FH305, N301, N150 กับ เครื่อง Computer PC ในครั้งแรกนะครับ ( ไม่มีสายระหว่าง FH303, FH305, N301, N150 กับ Wireless )



          3.2 เปิ ด Browser เช่น IE, Google Chorme หรือ Firefox ขึ้นมา แล้วพิมพ์ http://192.168.0.1 ตรงช่อง Address แล้ว Enter



          3.3 จะเข้าหน้า Setup Wizard ของ Tenda โดยไม่ถามรหัสผานใด ๆ ตรงนี ่ ้ ให้คลิกเลือก Internet Connection Type เป็ น DHCP ( 1 ) แล้วตั้ งชื่อกบรหัสผ ั าน ่ Wireless( 2,3) ตามที่ต้องการ แล้วกดปุ่ ม OK ( 4 )ครับ


     ในบาง Firmware Version ของสินค้ารุ่น FH303, N150, N301 นั้น อาจจะไม่มีให้เปลี่ยนชื่อ SSID ให้ดูวิธีเปลี่ยน ตามหมายเหตุข้อสุดท้าย 

          3.4 กดปุ่ ม OK ยืนยันอีกครั้งหนึ่ง


           3.5 จะเข้ามาหน้าการตั้ งค่าขั้ นสูง โดยหน้าแรกที่เข้ามาจะเป็ นหน้า Status จะยังเป็ น Disconnected ( 5 )ดังรูป



          3.6 ให้คลิกเมนูWireless ( 6 ) แล้วคลิกเลือก Wireless Extender ( 7 ) Extender Mode เลือกเป็ น WISP Mode ( 8 ) ตอไปก ่ คลิกที่ ปุ่ ม Open Scan ( 9 ) เพื่อค้นหาชื่อ SSID ของ AP ที่ต้องการทวนสัญญาณ (ในที่นี้หมายถึง Wireless ตัวหลักที่บ้าน, ที่ทํางาน หรือ Hotspot นะครับ )



          3.7 รอสักครู่ จะมี List SSID ของ AP ที่กระจายอยูในบริเวณใกล้เคียง ่ ที่ FH303, FH305, N301, N150 สามารถจับสัญญาณได้ แสดงขึ้นมา ตามตัวอยา่ง ดังรูป 

** ชื่อ SSID ที่แสดงขึ้นมา จะมีแตกต่างกนตามพื้นที่นะครับ ไม่ใช่วา ชื่่อ SSID ในตารางจะเหมือนกบในตัวอย่างเป๊ะครับ



          3.8 ให้คลิกเลือกชื่อ SSID ที่ต้องการเชื่อมต่อ ( 10 ) ในตัวอย่าง เลือกชื่อ “ Plentycomputer ” ที่เป็ นชื่อ Wireless ตัวหลักที่ต้องการ ( SSID ขอตัวหลัก ในตัวอยาง กับของผู้ใช้ ั จะไม่ เหมือนกน แล้วแต่สถานที่นะครับ ) เสร็จแล้วจะมีหน้าต่างขึ้นมาถามว่า “ ต้องการเชื่อมตอกับ AP ที่เลือกหรือไม่ “ ก็ให้กดปุ่ม OK ยืนยัน ( 11 )ดังรูป



**Signal Strength ที่จะเกาะนั้น ค่าไม่ควรเกิน 75 ขึ้นไป ถ้าค่าเกินกวานี ่ ้อาจจะทําให้เกาะกันไม่ติด หรือเกาะติดช้า หรือได้บ้างไม่ได้บ้าง** 

          3.9 หลังจากนั้น ค่าของ AP ตัวหลัก ที่ได้เลือกไว้ จะถูกกรอกในช่องด้านบนคือ SSID, Channel อัตโนมัติ เหลือแค่ผู้ใช้เลือก Security Mode ให้ตรงกบที่ตั้งไว้ในตัวหลักที่ได้จากข้อ 2 แล้วก็ให้กรอก รหัสผาน ่ Wireless ของ AP ตัวหลัก ในช่อง “ Security key “ หรือ “ WEP Key 1 “ ให้ถูกต้องครับ โดยการกรอกรหัสผานจะแยกเป็ น ่ Security Mode แบบ WPA-PSK, WPA2-PSK หรือ แบบ WEP ดังรูป ตัวอย่าง กรณีที่ตัวหลักตั้งรหัสผ่านเป็ นแบบ WPA-PSK หรือ WPA2-PSK จะมีให้กรอกแค่ Security Key เท่านั้น


ตัวอย่าง กรณีที่ตัวหลักตั้งรหัสผ่านเป็ นแบบ WEP จะต้องตรวจสอบว่าเป็ น ASCII หรือ HEX ด้วย ดังรูป




          3.10 หลังจากตั้ งค่าตามข้อ 2.8 หรือ 2.9 เรียบร้อยแล้ว กดปุ่ ม Apply จะมีหน้าต่างให้กดปุ่ ม OK ยืนยันเพื่อบันทึกคา่ และตัวอุปกรณ์จะทําการ Reboot จนครบ 100% ครับ ( รูปด้านขวาล่าง )




          3.11 กลับมาที่หน้า Setup Wizard อีกครั้ง ให้คลิก Advanced Settings อีกครั้งเพื่อกลับไปตรวจสอบ Status ของการเชื่อมต่อ


          3.12 ในหน้า Status ถ้าขึ้น WAN Status ว่า Connected แล้วมี ค่า IP Address, Subnet Mask, Gateway, DNS ขึ้นมา ดังรูป ก็แปลว่า  สามารถเชื่อมต่อหรือเกาะกับ AP ตัวหลักได้แล้ว แต่ถ้าไม่ได้ให้กลับไปตรวจสอบค่าเริ่มต้นที่ข้อ 3.8 อีกครั้ง


     4-  กรณีที่IP ของ FH303, FH305, N301, N150 กับ AP หรือ Gateway ตัวหลักตรงกัน 


"กรณีที่ IP ของ Gateway เป็น 192.168.0.1 ตรงกันกับ FH303, FH305, N301, N150 ( รูปบน ) อาจจะทําให้สถานะไม่เชื่อมต่อกัน ดังรูป"


          4.1 เปิด Web Browser เช่น Internet Explorer, Google Chorme หรือ Firefox ขึ้นมา แล้วพิมพ์ http://192.168.0.1 ตรงช่อง Address ดังรูป แล้วกดปุ่ม Go หรือ Enter


          4.2 จากหน้า Setup Wizard หลัก ให้คลิกที่ Advanced Settings เพื่อเข้าสู่หน้าการตั้งค่าขั้นสูง ดังรูป


          4.3 หลังจากเข้ามาหน้าการตั้งค่าขั้นสูงแล้ว ให้คลิกที่เมนูย่อย LAN Settings ( 1 ) แล้วเปลี่ยน IP Address เดิมจาก 192.168.0.1 ในช่อง IP Address เป็น IP Address ( 2 ) อื่น เช่น 192.168.100.1 หรือ 192.168.10.1 เป็นต้น แล้วกดปุ่ม OK ( 3 ) ดังรูป




          4.4 จะขึ้นหน้าต่างแจ้งให้ทราบเกี่ยวกับผลของการเปลี่ยน IP Address ให้กดปุ่ม OK เพื่อยืนยัน และอุปกรณ์จะ Reboot ใหม่



          4.5 หลังจาก Reboot เรียบร้อยแล้ว ให้ตรวจสอบว่า เครื่อง Computer PC หรือ Notebook ที่เซตตั้งค่าอยู่นั้น ได้รับ IP Address ชุดใหม่หรือไม่ โดยไปที่ Local Area Connection Status  Tab Support ( สำหรับ Windows XP ) หรือ Local Area Connection Detail ( สำหรับ Windows Vista, 7 ) เพื่อดูว่า IP Address ได้เปลี่ยนใหม่หรือยัง ( ในตัวอย่างเป็น 192.168.100.xxx ) ถ้ายังไม่เปลี่ยนก็ให้ทำการ Repair เพื่อ Update ค่า IP Address ของเครื่องให้ถูกต้อง ดังรูป


          4.6 เมื่อ IP Address ของเครื่องเปลี่ยนเป็น IP Address ชุดใหม่แล้ว เวลาเข้าหน้าการตั้งค่าผ่าน Web Browser จะต้องพิมพ์ IP Address เลขใหม่ที่เพิ่งเปลี่ยน ( ในตัวอย่างเป็น http://192.168.100.1) ตรงช่อง Address ดังรูป


         4.7 หลังจากเปลี่ยน IP Address แล้วให้กลับมาที่เมนู Advanced  Status แล้วตรวจสอบค่าตรง WAN Status ใหม่ ก็จะสามารถ Connected กันได้ มีสถานะขึ้นว่า “ Connected “ และมีหมายเลข WAN IP Address ขึ้นมาเหมือน ดังรูปตัวอย่าง




** WAN IP ที่ขึ้นนั้น จะแล้วแต่ว่า ตัวหลักแจก IP มาเป็นหมายเลขอะไรครับ อาจจะไม่ตรงกับในตัวอย่าง**
หมายเหตุ : กรณีเปลี่ยนชื่อ SSID สำหรับ FH303, N150 และ N301 บาง Firmware Version

     โดยปรกติแล้ว การเปลี่ยนชื่อ SSID หรือชื่อ Wireless นั้น จะสามารถเปลี่ยนได้จากหน้า Quick Setup หน้าแรก แต่ถ้าในบางครั้ง อุปกรณ์ รุ่นที่ใช้ ไม่มีให้เปลี่ยน ชื่อ SSID ในหน้า Quick Setup ดังรูป




     ให้เข้ามาหน้า Advanced แล้วไปที่เมนูหลักด้านบน Wireless ต่อด้วยเมนูด้านซ้าย Wireless Basic Settings แล้วเปลี่ยนชื่อ SSID ของตัว Tenda ที่ต้องการในช่อง Secondary SSID ครับ เสร็จแล้วกดปุ่ม OK ก็เป็นอันเสร็จขึ้น ขั้นตอนการเปลี่ยนชื่อ SSID แล้วครับ




**เท่านี้ก็เสร็จสิ้นขั้นตอนการตั้งค่า Repeater ในโหมด WISP แล้วครับ **


**************** สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่เบอร์ 02-3123641 – 6 ( 6 คู่สายอัตโนมัติ ), 086-3697855 *****************